การแต่งงานแบบไทยเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งพิธีการแต่งงานแบบไทยมีรายละเอียดและองค์ประกอบที่ต้องใช้ความใส่ใจและความพิถีพิถัน โดยเฉพาะในเรื่องของ การแห่ขบวนขันหมาก ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวนั้นเป็นคนจัดเตรียมเพื่อมาสู่ขอเจ้าสาว วันนี้เราจึงนำความรู้เกี่ยวกับการจัดพานขันหมาก ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง มาให้อ่านกัน! พิธีการแต่งงานแบบไทย ขันหมากที่เจ้าบ่าวต้องเตรียม ประกอบไปด้วย ขันหมากเอกและขันหมากโท ซึ่งแต่ละแบบจะมีรายละเอียดดังนี้ ขันหมากเอก พานขันหมากเอก เป็นพานเอกที่ใช้ถือนำขบวน โดยขันหมากเอกประกอบไปด้วย พานต้นกล้วย ต้นอ้อย ที่เราเห็นมีคนถืออยู่หน้าขบวนนั่นเอง พานขันหมาก : บรรจุด้วยหมากดิบ 4 ผล และใบพลู 4 เรียง พร้อมกับถั่วเขียว, ข้าวเปลือก, ข้าวตอก, งาดำ ที่บรรจุแยกเป็นถุงเล็กๆ รวมทั้งขันที่รองใบเงิน ใบทอง ใบนาก เช่นเดียวกับขันหมากหมั้น พานสินสอด : ส่วนนี้จะใส่สินสอด โดยส่วนใหญ่มักจะแยกเป็นพานเงินสดกับพานเครื่องประดับเป็นคู่ โดยจะใช้ผ้าลูกไม้ในการคลุมพานเอาไว้ ซึ่งจำนวนสินสอดจะขึ้นอยู่กับฐานะหรือการตกลงกันระหว่างฝ่ายเจ้าสาวและเจ้าบ่าว พานแหวนหมั้น : เป็นพานที่ใส่แหวนหมั้นของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว อาจจะแบ่งแยกเป็น 2 พาน หรือจะใส่รวมเป็นพานเดียวกันเลยก็ได้เช่นกัน พานธูปเทียนแพ : สมัยก่อนมีไว้สำหรับไหว้ผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบันแบ่งเป็นพานสำหรับไหว้บรรพบุรุษกับพานไหว้ผู้ใหญ่ ซึ่งพานไหว้ผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ธูปเทียนและดอกไม้อย่างพานไหว้บรรพบุรุษ…