การแต่งงานและการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามประเพณีนั้น เพื่อเป็นการประกาศให้ครอบครัวทั้งสองฝ่ายรวมถึงบุคคลทั่วไปได้รับรู้ ว่าคุณสองคนได้เป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในเรื่องของการแต่งงานที่เกิดขึ้นนั้นทางกฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคนทั้งคู่ เนื่องจากในสังคมปัจจุบันคู่รักหลายคนอาจมองว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นจะส่งผลถึงข้อผูกพันทางกายและทางกฎหมายหลายอย่าง ดังนั้นคู่รักควรตรวจสอบและพิจารณาข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนสมรสก่อนลงปลายปากกา ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส กรณีมรดก คู่สมรสถือเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกตามมาตรา 1635 ได้รับส่วนแบ่งมรดกในทุกระดับชั้นมรดก แต่ถ้าไม่จดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะไม่มีสิทธิอะไรในทรัพย์มรดกของอีกฝ่ายเลย แต่ลูกของคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีสิทธิได้มรดก ทรัพย์สินเกิดขึ้นหลังจากการสมรส ถือเป็นสินสมรสของสามี ภริยา ดังนั้นทรัพย์สินที่สร้างร่วมกันตลอดชีวิตสมรสก็จะเป็นของทั้งคู่ ถ้าไม่ได้จดทะเบียน ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้จะถือเป็นทรัพย์สินร่วม โดยแต่ละฝ่ายจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละส่วนเท่าๆกัน การจดทะเบียนสมรสจะทำให้เป็นสามีภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าฝ่ายใดฝายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสกับคนอื่น ถือเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อน และจะถือเป็นโมฆะ และอีกฝ่ายยังสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่มีชู้ได้ การระบุคู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถทำได้ แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้ระบุว่าห้ามคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้รับประโยชน์ แต่โดยทั่วไปบริษัทประกันชีวิตจะไม่ยอมรับประกันหากผู้รับประโยชน์ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย กรณีสมรส ถ้ามีลูกจะถือว่าเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายสามีก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนลูกได้คนละ 30,000 บาทตามกฎหมาย และยังสามารถลดหย่อนภาษีกรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ได้อีกด้วย การจดทะเบียนสมรส หากฝ่ายใดถูกคนอื่นทำให้เสียชีวิต อีกฝ่ายสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคนที่ทำให้อีกฝ่ายเสียชีวิตได้ กรณีประกันสังคม ถ้าเสียชีวิตและไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้ ประกันสังคมจะจ่ายเงินให้กับคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากันในผลประโยชน์ ดังนี้ ค่าทำศพ 40,000 บาท และเงินสงเคราะห์เพิ่มตามหลักเกณฑ์คือ ถ้าส่งเงินประกันสังคมตั้งแต่ 3 -10 ปี จะได้เงิน 2…